วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สรุป E-Government

E-Government



    e-Government หมายถึง การให้บริการของภาครัฐผ่านเครือข่ายอิเลกทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการของภาครัฐ เสริมสร้างความโปร่งใสของการดำเนินงานของภาครัฐ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และทำให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบต่อประชาชนมากขึ้น

e-Government เป็นหนึ่งแนวคิดสำคัญที่สอดคล้องกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือ New Public Administration (NPA) เป็นการปรับปรุงบริการภาครัฐโดยนำแนวคิดการให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือประชาชนผู้มารับบริการเป็นหลัก (Customer Driven) มาใช้ โดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ

e-Government แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. G2C (Government to Customer) รัฐกับประชาชน เป็นการให้บริการที่รัฐจัดให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและดำเนินการขอใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อาทิ ระบบ e-Revenue ของกรมสรรพากร 
  2. G2B (Government to Business) รัฐกับธุรกิจ เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานธุรกิจ อาทิ ระบบ e-Auction ระบบ e-Service ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  3. G2G (Government to Government) รัฐกับรัฐ เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ระบบ GFMIS
  4. G2E (Government to Employee) รัฐกับบุคลากรของรัฐ เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับบุคลากรของรัฐ อาทิ ระบบอินทราเน็ตภายในองค์การ
การให้บริการของ e-Government สามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
  1. ระดับการเผยแพร่ข้อมูล (Information)
  2. ระดับที่มีการโต้ตอบ (Interaction)
  3. ระดับที่มีการทำธุรกรรม (Interchange Transaction)
  4. ระดับการบูรณาการข้ามหน่วยงาน (Integration)
  5. ระดับอัจฉริยะ (Intelligence)
ประโยชน์ต่อภาครัฐ คือ ลดงานและจำนวนเอกสาร, เพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และลดงานธุรการ

ประโยชน์ต่อภาคเอกชน คือ ประหยัดเวลาในการเดินทางและการทำธุรกรรม, การติดต่อกับภาครัฐเป็น ไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ประโยชน์ต่อภาคประชาชน  คือ

สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ตประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้นรัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้นลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน      สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต ได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center), บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการประกอบการที่ลดลง ค้าขายกับรัฐคล่องขึ้น เสี่ยงน้อยลง(สต๊อกของน้อยลง)      ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มให้บริการออนไลน์บ้างแล้ว อาทิ กรมสรรพากร ที่เปิดระบบ e-Revenue ให้ผู้เสียภาษีสามารถเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ หรือกรมทะเบียนการค้า ที่รับจดทะเบียนผ่านระบบ On-line Registration และทางมหาลัยที่เปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นต้น       ลักษณะของระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จะช่วยให้หน่วยงานที่ต้องการทราบหรือใช้ข้อมูลของประชาชน สามารถเชื่อมโยงเข้าไปที่ระบบฐานข้อมูลกลางของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ได้ ทางฝ่ายประชาชนเองจะสามารถรับบริการได้อย่างเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง     ตัวอย่างเช่น การแจ้งเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ สามารถทำเพียงครั้งเดียว ที่ระบบของสำนักทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง หลังจากนั้นระบบจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราต้องแจ้งได้เองโดยอัตโนมัติ อาทิ กรมการขนส่งทางบก เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในใบขับขี่ ที่การไฟฟ้า ฯ การประปาฯ เพื่อเปลี่ยนชื่อที่อยู่ในใบแจ้งค่าไฟ ค่าน้ำ หรือที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรประกันสังคม เป็นต้น     และหากระบบมีการเชื่อมโยงกับระบบการชำระเงิน หรือที่เรียกว่า payment gateway ประชาชนก็จะสามารถชำระค่าบริการต่าง ๆ อาทิ ค่าภาษีอากร ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน ธนาคาร หรือที่จุดบริการชำระเงิน เช่น Counter Service ใด ๆ จึงประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทาง     หากมีการนำระบบ e-Government มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด  ในปัจจุบันสถานบริการอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไป  ได้เปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก          ทั้งในเมืองและในชนบททั่วทุกจังหวัดของประเทศ ในลักษณะของอินเตอร์เน็ตคาเฟ่   โดยคิดค่าบริการเป็นชั่วโมงใช้งานสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นของส่วนตัว หรือเสียค่าบริการอินเตอร์เน็ตเป็นรายเดือนแต่อย่างใด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น